❤️ แฟชั่นชุดไทย ❤️
ในปัจจุบันนี้คนไทยเราส่วนใหญ่เริ่มหันมาสนใจชุดไทย และเริ่มใส่ชุดไทยกันอย่างมาก ตามรอยละครย้อนยุคเรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่ยกเอาชุดไทยมาใส่ในการแสดง ทำให้ผู้ที่ได้รับชมน้ันเกิดความชอบ และอยากจะใส่ตาม จนเกิดขึ้นมาเป็นแฟชั่นชุดไทย ที่ใครๆหลายคน ก็หามาใส่ถ่ายรูปกันอย่างปราบปลื้ม อย่างไรก็ตาม ชุดไทยเรานั้นมีมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ จนถึงยุคสมัยปัจจุบัน แต่น้อยนักที่จะใส่กัน ส่วนใหญ่จะใส่ในพิธีการต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน หรือ การรำ การเล่นละคร การโชว์และการแสดงต่างๆ เป็นต้น แต่เมื่อชุดไทยเราไดเกลับมาบูมอีกครั้งวันนี้เราก็จะมาเสนอความรู้เกี่ยวกับชุดไทย ว่า มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง เริ่มจากประวัติกันก่อนเลยค่ะ
ชุดไทยนั้นเริ่มมีตั้งแต่สมัยน่านเจ้า(พ.ศ. ๑๑๖๑-๑๑๙๔) สมั้ยนั้นหญิงผู้ดีนุ่งซิ่น ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุกทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง
ในสมัยต่อมา คือสมัยเชียงแสน(พ.ศ. ๑๖๖๑-๑๗๓๑) อาณาจักรน่านเจ้าสิ้นสุดลงชนชาติไทยเคลื่อนสู่แหลมอินโดจีนรวบรวมกันเป็นอาณาจักรใหม่ เรียกลานนาไทย เนื่องแต่เข้ามาอยู่ในเขตร้อน หญิงไทยจึงนุ่งซิ่นถุง แต่การทอผ้ามีลวดลายตกแต่งประดับประดา เช่น ซิ่นทอลายขวาง เกล้าผมสูง ปิ่นปักประดับผม
สมัยสุโขทัย(พ.ศ. ๑๗๘๑-๑๘๒๖) ในสมัยนี้คือมณฑลอัสสัมในอินเดีย พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ทรงคิดตัวอักษรขึ้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมพราหมณ์และขอมแพร่มาถึง สรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไป เกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่ง กรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒-๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบ ทำด้วยหนังสีดำ สีแดง
สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ต้นสมัยอยุธยา(พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๑๓๑) ไทยเริ่มนุ่งจงกระเบน แปลงจากทรงหยักรั้งอย่างขอม หญิงนุ่งจีบ ห่มสไบ มีผ้าห่มชั้นในอีกผืนหนึ่งห่มอย่างผ้าแถบ สไบชั้นนอกใช้ผ้าเนื้อหนาก็ได้
สมัยอยุธยา(พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑) การแต่งกายสตรีตามภาพพจน์นิพนธ์กล่าวว่า "คิดอนงค์องค์เอวอร ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร" และ "ผมเผ้าเจ้าดำขลับ แสงยับยับกลิ่นหอมรวย ประบ่าอ่าสละสลวย คือมณีสีแสงนิล" แสดงว่า สรีนิยมไว้ผมยาว
ปลายสมัยอยุธยา ประเทศไทยต้องทำศึกสงคราม การแต่งกายของสตรีจึงเปลี่ยนไป ผมที่เคยไว้ยาวประบ่าก็ต้องตัดสั้น เพื่อสะดวกในการปลอมเป็ฯชายอพยพหนี ห่มผ้าคาดอกแบบตะแบงมานรวบชายผูกเงื่อนที่ต้นคอ
ต้นสมัยรัตโกสินทร์ สงครามห่างไปสตรก็คงไว้ผมสั้น เรียกว่าผมปีก คล้ายผมทรางมหาดไทยของชาย ผมปีกคือ ผมไว้ยาวข้างหู ไว้สำหรับทัด ตรีนุ่งผ้าลายจีบ ห่มสไบ
สมัยรัตโกสินทร์ ต้นรัชกาลที่ ๕ ผู้ชายเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย สตรีค่อยๆเลิกไว้ผมปีก เปลี่ยนไว้ผมยาว แต่สตรีฝ่ายในคงนุ่งจีบ ห่มแพรสไบเฉียง หมอบเฝ้า ฝ่ายหน้าเริ่มแต่งตัวแบบฝรั่งสวมถุงน่องรองเท้า และยืนเฝ้า แต่ยังนุ่งโจงเวลาที่นางสนมกำนัลตามเสด็จ ต้องแก้ไขห่มสไบเฉียงเป็นสไบแพร และบางทีสวมหมวกเช่นหญิงฝรั่ง
♢♢♢เป็นไงบ้างคะสำหรับประวัติความเป็นมาของชุดไทย♢♢♢ ♦️♦️♦️
ทั้งนี้ยังได้มีข้อมูลเพิ่มเติมถึงความนิยมในการใส่ชุดไทย ทั้งนี้มีการสอบถามผู้ที่ได้ใส่ชุดไทย และผู้ขายชุดไทยมาฝากด้วยค่ะ
ร้านขายชุดไทย
พนักงานที่ใส่ชุดไทย (ตลาดน้ำอยุธยา)
ร้านขายชุดไทย
✱✱ เห็นมั้ยคะว่าชุดไทยเรานั้นมีสเน่ห์มาก ทั้งสวย สุภาพเรียบร้อย อีกทั้งยังดึงดูดผู้คนทุกชนชาติให้หลงไหลได้ แม้จะผ่านมานานขนาดไหน กี่ยุคกี่สมัย ชุดไทยยังคงเป็นชุดที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตลอด ปัจจุบันมักใช้แต่งในโอกาสต่างๆ เช่น เป็นชุดเจ้าสาว วันแต่งงาน หรือใช้ทำการแสดงร่ายรำในงานพิธีต่างๆ ขนาดต่างชาติยังมาซื้อชุดไทยไปใส่กันเลยค่ะ เราคนไทยควรอนุรักษ์ความสวยงามนี้ไว้ให้อยู่คู่กับเมืองไทยเราไปนานๆนะคะ
⊳มีชาวต่างชาติมาซื้อมั้ยคะ
: มีค่ะชาวต่างชาติก็มี ชอบ
⊳ส่วนมากเขาจะซื้อแบบไหนมากกว่ากัน
เป็นจงกระเบนหรือแบบผ้าถุง
: เป็นจงกระเบนมากกว่าค่ะ
เพราะต่างชาติเขาจะใส่ง่าย ค่ะ แล้วก็พวกชุดไทยเด็กอีก เขาจะชอบ เด็กเล็ก
เขาจะชอบพวกคอกระเช้าแบบพื้นบ้าน
⊳ช่วงกระแสละครย้อนยุคนี่จะมีนักท่องเที่ยวแต่งชุดไทยมาเที่ยวเยอะมั้ยคะ
: ใช่ค่ะ เวลา
ช่วงนั้นก็จะมีแต่คนใส่ชุดไทยมาทั้งนั้นเลย
เดินมาก็จะมีแต่ชุดไทยเลยทั้ง ผู้ชายและ ผู้หญิง และก็เด็กค่ะ
⊳คิดว่าละครย้อนยุคมีผลต่อการใส่ชุดไทยมั้ยคะ
: มีค่ะ มีมาก
ภาพวีดีโอบรรยากาศ ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เกต ที่พ่อค้าแม่ค้าใส่ชุดไทยเพื่อดึงดูดลูกค้าและนักท่องเที่ยว

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น